คุณกำลังมองหาอะไร?

นิ

นิเทศเยี่ยมเสริมพลังงานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 1 ณ โรงพยาบาลวัดจันทร์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 1 สิงหาคม 2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.08.2567
12
0
แชร์
02
สิงหาคม
2567

นิเทศเยี่ยมเสริมพลังงานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 1
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 คณะกรรมพัฒนาอนามัยแม่และเด็กเขตสุขภาพที่ 1 นำโดย นพ.สุธิต คุณประดิษฐ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ประธาน MCH Board เขตสุขภาพที่ 1 นิเทศเยี่ยมเสริมพลัง ณ โรงพยาบาลวัดจันทร์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตามกำกับในประเด็นมุ่งเน้นสำคัญงานอนามัยแม่และเด็ก ทั้งนี้ได้รับการต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก โดย นพ.ภคพล เบี้ยวบรรจง ประธาน MCH board และได้ลงเยี่ยมหน้างาน ได้แก่งานห้องคลอด หลังคลอด งานฝากครรภ์ งานส่งเสริมสุขภาพ คลินิกโรคเรื้อรัง เพื่อเป็นการให้กำลังใจ แก่ผู้ให้บริการในหน่วยงาน และชื่นชมความเข้มแข็งของทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก สามารถเป็นแบบอย่างด้านนวัตกรรม การยกระดับบริการมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็นเน้นย้ำที่สำคัญ ในการดำเนินงานมาตรการ 4 P มีดังนี้ 1).Plan of Pregnancy มีการวางแผนการตั้งครรภ์ในกลุ่มโรคเรื้อรัง และการเชื่อมโยงกับการคุมกำเนิดใน NCD clinic และมีการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการส่งเสริมการมีบุตรได้มีการให้คำปรึกษาและส่งต่อ รพ.แม่ขาย
2).Plan of ANC มีการคัดกรอง และพิจารณาให้ยา progesterone เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่เป็นสาเหตุสำคัญการเกิด Neonatal death มีการวางมาตรการการป้องกันได้ดีในกลุ่มที่มีการเฝ้าระวัง แต่ยังพบการคลอดก่อนกำหนดในกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 3).Plan of Delivery ชื่นชมการพัฒนาบุคลากรโดยมีการฟื้นฟูความรู้ การซ้อมแผนกรณีฉุกเฉิน การวิเคราะห์ข้อมูล มีทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ มีการคัดกรองความเสี่ยง การวางแผนการคลอดและติดตามอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ Sky doctor ในคนไข้ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 4).Plan of Follow up มีการทำกลุ่มไลน์ OA เพื่อติดตามหลังคลอด เพิ่มการสร้างความตระหนักรู้ในwarning signs หลังคลอดที่ต้องมาพบแพทย์ทันที และมีการติดตามการตรวจหลังคลอดให้ได้ตามเกณฑ์ 5).การใช้โปรแกรม One LR ขอให้มีการลง การวัด Fundal height ในการคำนวณ CPD Risk score ลง progression of labor และ fetal heart sound เพื่อประเมินความเสี่ยง ที่ต้องพิจารณาส่งต่อ หลีกเลี่ยงการทำสูติศาสตร์หัตถการใน รพช. และมีการประเมินการสูญเสียเลือดในรายคลอดบุตร 6).ด้านพัฒนาการเด็ก การคัดกรองทำได้ตามเกณฑ์ มีการติดตามเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า แต่อัตราการใช้สมุดการคู่มือพัฒนาการ DSPM ยังได้น้อยปัญหาส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ปกครองอ่านหนังสือไม่ออก โดยภาพรวมชื่นชมความตั้งใจ และความมุ่งมั่นในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน